นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ (2536 : 3)
ได้แบ่งความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้ 4 ประการ คือ
1. ความรู้และระบบความรู้
ภูมิปัญญาไม่ใช่สิ่งที่เกิดแวบขึ้นมาในหัว แต่เป็นระบบความรู้ที่ชาวบ้าน
มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ เป็นระบบความรู้ที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์
ฉะนั้นในการศึกษาเข้าไปดูว่าชาวบ้าน “รู้อะไร”
อย่างเดียวไม่พอต้องศึกษาด้วยว่าเขาเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ
เหล่านั้นอย่างไร
2. การสั่งสมและการกระจายความรู้
ภูมิปัญญาเกิดจากการสั่งสม และกระจาย ความรู้ ความรู้นั้น ไม่ได้ลอยอยู่เฉย ๆ
แต่ถูกนำมาบริการคนอื่น เช่น หมอพื้นบ้าน ชุมชน
สั่งสมความรู้ทางการแพทย์ไว้ในตัวคน ๆ หนึ่ง
โดยมีกระบวนการที่ทำให้เขาสั่งสมความรู้
เราควรศึกษาด้วยว่ากระบวนการนี้เป็นอย่างไร
หมอคนหนึ่งสามารถสร้างหมอคนอื่นต่อมาได้อย่างไร
3. การถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้านไม่ได้มีสถาบันถ่ายทอดความรู้แต่มีกระบวนการถ่ายทอดที่
ซับซ้อน ถ้าเราต้องการเข้าใจภูมิปัญญาท้องถิ่น
เราต้องเข้าใจกระบวนการถ่ายทอดความรู้จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่งด้วย
4. การสร้างสรรค์และปรับปรุง
ระบบความรู้ของชาวบ้านไม่ได้หยุดนิ่งอยู่กับที่แต่ถูกปรับเปลี่ยน ตลอดมา
โดยอาศัยประสบการณ์ของชาวบ้านเอง เรายังขาดการศึกษาว่าชาวบ้านปรับเปลี่ยนความรู้
และระบบความรู้เพื่อเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงอย่างไร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น